วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การสร้างรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว


การสร้างรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า


"หน่วยกิต" 

เป็นการให้ค่าน้ำหนักแก่รายวิชาต่างๆ
-การศึกษาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหา 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง ตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
-การศึกษาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกทดลอง 2 หรือ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือตั้งแต่ 30 ถึง 45 ชั่วโมงตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
-การฝึกงานหรือฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึก 3 ถึง 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือตั้งแต่ 45 ถึง 90 ชั่วโมงตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต

มาตราส่วน

มาตราส่วน ( SCALE ) หมายถึง อัตราที่ใช้ย่อหรือขยายส่วน
การเขียนแบบโดยทั่วไป ภาพที่เขียนแบบจะมีขนาดที่สัมพันธ์พอเหมาะกับขนาดกระดาษเขียนแบบเสมอ เมื่อมองภาพแล้วเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนสมบูรณ์ ฉะนั้นการเลือกใช้มาตราส่วนที่เหมาะสมกับขนาดกระดาษเขียนแบบ ผู้เขียนแบบจึงต้องควรคำนึงถึงมาก
มาตราส่วน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1. มาตราส่วนย่อ ( BRIEF SCALE ) เช่น 1 : 10 อ่านว่า หนึ่งต่อสอบ หมายถึง ของจริง 10 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน
2. มาตราส่วนขยาย ( EXTENDED SCALE ) เช่น 10 : 1 อ่านว่า สิบต่อหนึ่ง หมายถึง ของจริง 1 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 10 ส่วน
3. มาตราส่วนเท่าของจริง ( FULL SCALE ) เช่น 1 : 1 อ่านว่า หนึ่งต่อหนึ่ง หมายถึง ของจริง 1 ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน
สำหรับมุมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในแบไม่ว่าจะเป็นมุมตรงไหนก็ตาม จะไม่มีผลต่อการใช้มาตราส่วน กล่าวคือมุมไม่ต้องทำการย่อหรือขยายแต่ประการใด เช่น มุม 60 ไม่ว่าจะใช้มาตราส่วนย่อหรือมาตราส่วนขยาย มุม 60 ก็ยังเป็นมุม 60 อย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

สำหรับการเขียนค่าของตัวเลขบอกขนาด ก็เช่นเดียวกันกับมุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้มาตราส่วนย่อหรือขยายก็ตาม การกำหนดขนาดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น ขนาดความยาวของวัตถุ 15 เซนติเมตร มาตราส่วนไม่ว่าจะย่อหรือขยาย การเขียนตัวเลขบอกขนาดก็เขียน 15 เซนติเมตรเท่าเดิม

อัตราส่วน 

หมายถึง การเปรียบเทียบปริมาณสองปริมาณ ซึ่งอาจมี หน่วยเดียวกันหรือหน่วยต่างกันก็ได้ อัตราส่วนของปริมาณ a ต่อปริมาณ b เขียนแทนด้วย a : b หรือ เรียก a ว่าจำนวนแรกหรือจำนวนที่หนึ่งของอัตราส่วน และเรียกb ว่าจำนวน
ในการเขียนอัตราส่วน อัตราส่วนที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสอง ปริมาณที่มีหน่วยเดียวกันและมีความชัดเจนว่าเป็นหน่วยของสิ่งใด เช่น น้ำหนัก หรือ ปริมาตร เราไม่นิยมเขียนหน่วยกำกับไว้ เช่น อัตราส่วนของน้ำหนักหญ้าสดต่อน้ำหนักมูลไก่ เป็น 50 : 5 หรือ อัตราส่วนของปริมาณหญ้าสดต่อปริมาณมูลไก่โดยน้ำหนักเป็น 50 : 5 ถ้าเป็นอัตราส่วนที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสองปริมาณที่มีหน่วยต่างกัน เราจะเขียนหน่วยกำกับไว้ เช่น อัตราส่วนของจำนวนไข่เป็นฟองต่อราคาเป็นบาท เป็น 10 : 22